วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556



สรุปบทความ

"สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

             สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน มีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการสอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อสื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน วัสดุการสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา เป็นต้น
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหา ที่เป็นความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

ชนิดของสื่อการสอน
             สื่อการสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
             1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
             2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
             3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น ประเภทคือ
             1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
             2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
             3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม
บทบาทสมมติ ฯลฯ

การจัดหาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
             ก่อนที่ครูปฐมวัยจะจัดสื่อการสอนนั้นควรคำนึงถึงสื่อที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งอาจเป็นสื่อของจริงชนิดต่าง ๆ หรือสื่อสำเร็จรูป ได้แก่ ตุ๊กตา หุ่นจำลอง แล้วจึงคิดต่อไปว่าสื่อชนิดใดจะจัดทำขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ประหยัดวัตถุดิบ ประหยัดเวลาและแรงงาน ได้ผลคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะไม่สวยงามเท่ากับสื่อที่จัดทำขึ้นด้วยเครื่องจักรซึ่งมีความประณีตงดงามก็ตาม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าครูสามารถผลิตสื่อได้เองก็จะเป็นการดี ไม่ต้องรองบประมาณในการจัดซื้อ
ครูปฐมวัยต้องจัดหาและรวบรวมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นครูควรจะทราบถึงแหล่งของวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะได้สื่อ วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมา
แหล่งสื่อที่ครูสามารถรวบรวมได้ ได้แก่
             1 พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากที่ได้สะสมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้มาก เช่น เขาได้ไปเที่ยวทะเลมาเขาก็สะสมเปลือกหอยต่าง ๆ ไว้ ถ้าทางโรงเรียนได้บอกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองเด็กมีความยินดีที่จะบริจาคให้ หรือผู้ปกครองบางคนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่ เขาอาจจะบริจาคเป็นเงินเพื่อให้ซื้อก็ได้ หรือบางคนอาจจะให้ยืมมาใช้
             2 บุคคลต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ เจ้าของร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน บุคคลเหล่านี้จำนวนมากต้องการช่วยเหลือโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้าโรงเรียนแจ้งความจำนง
             3 ซื้อจากร้านค้า ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าที่เป็นของคุรุสภาหรือของเอกชนทั่ว ๆ ไป
             4 ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทางโรงเรียนอาจจะทำขึ้นมาเอง หรือเชิญคนในชุมชนที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำ โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
ความปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาให้เด็กใช้ต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ไม่มีคมที่อาจบาดมือเด็กได้ หรือสีที่ใช้ต้องไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น
ความเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์ทึ่จัดหามานั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถหยิบใช้ได้เอง นอกจากนั้นยังต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอนด้วย
ราคาถูก ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือซื้อก็ใช้เงินเพียงเล็กน้อย
สะดวกในการขนย้ายและเก็บรักษา
พยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ต้นไม้ อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ
ในสภาพปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหาสื่อการสอนและของเล่นเด็กได้ครบถ้วนทุกประการ ทั้งนี้ครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนทักษะ การคิดค้น ประดิษฐ์ สะสมวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่พอจะหาได้ในท้องถิ่น เช่น ขวดพลาสติก จุกขวดฝาน้ำอัดลม กระป๋องนม เศษผ้า เศษไม้ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ เมล็ดพืช ใบไม้ ดอกไม้ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ หาได้จากเด็ก ๆ ในโรงเรียน เพื่อนครู เพื่อนบ้าน ครูปฐมวัยควรฝึกการชอบสะสมเศษวัสดุเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่อ






สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู


"กิจกรรมวิทยาศาสตร์ปฐมวัย"




วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18

  ครั้งที่ 18
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้


อาจารย์ให้ส่งงานทั้งหมด


การทดลองวิทยาศาสตร์

"ไข่เอย...จงนิ่ม"
รูปภาพ



รูปภาพ







สิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

"แตรเสียง"




ของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์

" ขวดบรรเลงเพลง"






ครั้งที่ 17

    ครั้งที่ 17
วันพพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

อาจารย์ให้นักศึกษา"สรุปองค์ความรู้ในการเรียนวิชานี้"

ครั้งที่ 16

  ครั้งที่ 16
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "Cookimg" หลังจากที่ได้เขียนแผนและนำเสนอแผนเกี่ยวกับการทำอาหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

   ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"
   -คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
   -คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"
   
-คุณครูใช้คำถาม  ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อยคือ 
     "เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างคะ"
    "เด็กๆคะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของ"ไข่ตุ๋น")เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นคะ"
    "เด็กๆคะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมคะ"


>>ภาพกิจกรรม การทำ"ไข่ตุ๋น"<<











^^.....................................................................................................................^^


ครั้งที่ 15


  ครั้งที่ 15
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้


^^เรียนชดเชย^^

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย
-ทำกิจกรรม "เขีียนแผนการทำอาหาร" (กลุ่ม)


ภาพ กิจกกรม "การเขียนแผนการทำอาหาร"


ภาพการนำเสนอแผนการสอน "ข้าวผัด USA."






^^.......................................................................................................^^

ครั้งที่ 14

   ครั้งที่ 14
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้


^^ไม่มีการเรียนการสอน^^
>>เนื่องจาก อาจาย์ติดภารกิจทางราชการ<<

(อาจารย์ให้นักศึกษาเครียงานที่ค้าง และทำบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย)







^^....................................................^^

ครั้งที่ 13

  ครั้งที่ 13
วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้



^^ไม่มีการเรียนการสอน^^
                                               >>เนื่องจาก อาจารย์ติดภารกิจทางราชการ<<

(อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย)







^^..................................................................^^

ครั้งที่ 12

  ครั้งที่ 12
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2556

การเรียนการสอนในวันนี้


      อาจารย์ให้นำรูปที่ไปศึกษาดูงานที่ "โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา" จ. บุรีรัมย์ และ "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา" 
















>>..............................................................................................................................<<



ครัั้งที่ 11

  
 ครั้งที่ 11
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนนี้


"ไม่มีการเรียนการสอน"

  
   -อาจารย์ได้สั่งงานนักศึกษาให้ไปทำงาน มีดังนี้
    1. ทำการสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 1 ชิ้น
    2. ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ 1 ชิ้น
    3. ทำว่าวใบไม้คนละ 1 ใบ

ครั้งที่ 10

   ครั้งที่ 10
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

  -อาจารย์นัดไปศึกษาดูงานที่ "โรงเรียนลำปลายพัฒนา"
    จ. บุรีรัมย์
  - อาจารย์นัดศึกษาไปดูงานที่ "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
     จ. โคราช
   (ไปศึกษาดูงาน วันที่ 27-28 สิงหาคม พ.ศ.2556)
  -อาจารย์ให้เก็บรายละเอียดที่ไปศึกษาดูงานทั้ง 2 ที่ ให้มากที่สุด
  -อาจารย์ตรวจบล็อกของนักศึกษาทุกคน และบอกคำแนะนำ เพื่อให้ไปแก้ไขในจุดที่บกพร่องของ            บล็อกตัวเอง

  "สิ่งที่ต้องแก้ไขในบล็อก"
   อาจารย์บอกว่าให้ไปเพิ่มลิงก์เพื่อนในกลุ่มให้ครบ และ ใส่วีดีโอ Project appoachให้เรียบร้อย






           ^^ ....................................................................................................................................^^

ครั้งที่ 9

ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

- อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม " โครงการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
- ประกวดมารยาทไทยของ เอกปฐมวัย


โครงการ "กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"




ประกวด "มารยาทไทย"





วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8


ครั้งที่ 8

วันที่  31 กรกฎาคม 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

**ไม่มีการเรียนการสอน **
เนื่องจาก อยู่ในช่วงการ"สอบกลางภาคเรียน" 




ครั้งที่ 7


ครั้งที่  7

วันที่  24 กรกฎาคม 2556


การเรียนการสอนในวันนี้


Project Approach การสอนแบบโครงการ

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6

ครั้งที่  6

วันที่ 17 กรกฎาคม  2556

การเรียนการสอนในวันนี้

อาจารย์ให้นักศึกษาหาสิ่งประดิษฐ์ที่เกียวกับวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ต้องหามีดังนี้
     1. สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ใช้ใน"การทดลอง"
     2. สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ใช้ใน"การเข้ามุม"


 การทดลอง:  ไข่เอย....จงนิ่ม




สิ่งที่ต้องใช้

   1. แก้ว 1 ใบ
   2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
   3. น้ำส้มสายชู

การทดลอง

   1. นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้วเทน้ำส้มสายชู 
   2. เทน้ำให้ท่วมไข่แล้วทิ้งไว้ 1 วัน
   3. ตอนเช้าเทน้ำออก แล้วก็ลองจับดูซิ..ว่าใข่ไก่เป็นอย่างไร?

ข้อคิด

    น้ำส้มสายชูเป็นกรดอินทรีย์ ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เช่น เปลือกไข่ เป็นต้น


การเข้ามุม:

กิจกรรม บรรเลงเพลง



           อุปกรณ์
  
     1. ขวดน้ำพลาสติก
     2. น้ำเปล่า
     3. ไม้แข็ง

          วิธีการทดลอง

     1. นำน้ำใส่ขวดพลาสติกในระดับที่ต่างกัน
     2. นำไม้ไปเคาะตามขวดต่างๆ

          เกิดอะไรขึ้น
    
     เสียงที่เกิดจากการตีขวดพลาสติก มีเสียงที่แตกต่างกัน






วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5

ครั้งที่ 5

วันที่ 10 กรกฎาคม  2556

การเรียนการสอนในวันนี้

-อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเตรียมงานที่จะนำมาเสนอในวันนี้(สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์)ที่สามารถให้เด็กทำได้
- ถ้างานของใครซ้ำให้กลับไปทำแล้วนำมาเสนอใหม่

งานของดิฉัน มีชื่อว่า"แตรคชสาร"

 แตรคชสาร

 


  



    อุปกรณ์ที่ใช้ :
  1. แผ่นพลาสติกบางใส : คล้ายๆ กับแผ่นใสที่ใช้กับเครื่องฉายแผ่นใสน่ะ
  2. เทปกาว : จะใช้แบบใส หรือแบบสี ก็ได้
  3. กรรไกร และ ด้าย

    ขนาดของส่วนต่างๆ ของแตรฯ โดยประมาณ :
  1. เส้นผ่านศูนย์กลางของแตรด้านกว้าง : 1 นิ้ว
  2. เส้นผ่านศูนย์กลางของแตรด้านแคบ : 1/8 นิ้ว
  3. ความยาวแตร : 8 นิ้ว
  4. ความกว้างของพลาสติกที่ใช้พันปากแตร : 2 นิ้ว

    ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
  1. ม้วนแผ่นพลาสติกใส เป็นรูปกรวยตามขนาดที่กำหนด ใช้เทปกาวปิดยึดไว้
  2. ใช้กรรไกร ตัดเฉียงๆ ปลายด้านแคบของแตร
  3. ตัดแผ่นพลาสติกใสเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ติดเข้ากับปลายแตรด้านแคบ ใช้ด้ายพันไว้ให้แน่น
  4. ทำแตรแบบนี้ 2 อัน เอามาวางคู่กัน แล้วใช้พลาสติกอีกแผ่น กว้างประมาณ 2 นิ้ว พันรอบให้คลุมลิ้นแตร แล้วใช้เทปกาวพันให้แน่น
  5. ประดับตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ
สิ่งที่เกิดขึ้น: เสียงเกิดจากการที่วัตถุสั่นสะเทือน เมื่อเราเป่าลมผ่านลิ้นเล็กๆ ที่ติดอยู่ที่แตร ลิ้นจะสั่นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งจะเดินทางผ่านออกไปทางปากแตร
ข้อควรระวัง : อย่าเป่าใส่หูกัน จะเป็นอันตรายแก่แก้วหูได้





************************************************

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

      ครั้งที่ 4
วันที่ 3 กรกฎาคม 2556


การเรียนการสอนในวันนี้
-อาจารย์ให้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำมาจากวัสดุ
-อาทิตย์หน้าอาใบไม้มา
-อาจารย์ให้ดูVCD "เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ"

   "มหัศจรรย์ของน้ำ"
เหงื่อมาจากนำในร่างกายของเรา เมื่อไรที่เหงื่อออกมาจากร่างกายเยอะๆเราต้องกินน้ำแทนเหงื่อที่เสียไป
      ร่างกายของมนุษย์มีน้ำป็นส่วนประกอบ 70%
      ผักและผลไม้ที่น้ำเป็นส่วนประกอบ        90%

คุณสมบัติของสารมี 3 ชนิด คือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ

    ของแข็ง  = น้ำแข็ง
    ของเหลว= น้ำที่เราใช้
    ก๊าซ        = ไอน้ำ
การที่ก๊าซเปลี่ยนเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น

    การลอยตัวของน้ำ
เกิดจากการอาน้ำเกลือมาใส่ในน้ำจึงทำให้สิ่่งๆนั้นลอยตัว เพราะน้ำเกลือมีความหนาแน่นมากว่าน้ำธรรมดา

b_300_0_16777215_0___images_stories_220949_3_1.jpg

    การควบแน่นของน้ำ
การควบแน่น เกิดจากการที่น้ำระเหยจากความร้อนจึงทำให้น้ำลดลง มันจะระเหยบนผิวของน้ำ เพราะในน้ำมีโมเลกุลมากที่ติดกันอยู่แบบหลวม มันจึงเกิดการประทุของน้ำแข็งออกมาจากปากแก้ว

      แรงดันของน้ำ

              
                             




วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3

   
  ครังที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556


การเรียนการในวันนี้้

อาจารย์ให้นักศึกษาดู VCD "เรื่อง ความลับของแสง"
อาจารย์สรุปเกี่ยวกับ "ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์"

   "ความลับของแสง"
  แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ที่มีความเร็วมากและเคลื่อนที่เร็ว แสงช่วยในการมองเห็นของเราได้ก็คือ การที่แสงได้ส่องมายังโดนวัตถุจากนั้นแสงจะสะท้อนวัตถุมาผ่านตาจึงทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้

คุณสมบัติของแสง
1. การเดินทางป็นเส้นตรง

คือ การที่แสงเดินทางผ่านวัตถุเป็นเส้นตรงอย่างเดียว ไม่มีการหักเหไปทางอื่น

2. การสะท้อนของแสง


คือ การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิมการสะท้อนของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุ

3. การหักเหของแสง


คือ การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม

4. การกระจายของแสง

คือ การที่แสงหักเหผ่านผิวละอองน้ำทำให้แสงสีต่างๆออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับลงมาที่ผิวด้านหลัง

      วัตถุของแสง
วัตถุของแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ วัตถุทึบแสง วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส
 -วัตถุทึบแสง    คือการที่วัตถุที่ผ่านเข้าตาโดยที่แสงไม่สามรถผ่านเข้ามาได้
 -วัตถุโปร่งแสง คือการแสงทะลุออกจากบางส่วนท่านั้น
 -วัตถุโปร่งใส   คือแสงที่ผ่านไปได้ท้งหมดทำให้เราเห็นวัตถุข้างหลังได้


     ปรากฏการณ์ที่เกิดรุ้งกินน้ำ
คือ เกิดจากการหักเหของแสงเมื่อสีทั้ง 7 รวมกันจะเป็นสีขาว ได้แก่ ม่วง ขียว แดง คราม เหลือง แสด และน้ำเงิน



Mind Mapping "เรื่อง ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์"


วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2

                         
           ครั้งที่  2

  วันที่  19  มิถุนายน  2556

         การเรียนการสอนในวันนี้
      อาจารย์ได้พูดถึงเกี่ยวกับ"วิชาการจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์"
  
  >> งานกลุ่ม<<

  - อาารย์แจกชีส แล้วใหนักศึกษาอ่านหัวข้อที่ตัวเองได้แล้วนำมาสรุปในสมุด
  - ให้นักศึกษาจับกลุ่มคนละ 6 คน
  -แต่ละกลุ่มเวียนกันศึกษาแนวคิดหัวข้อของแต่ละกลุ่มแล้วนำมาสรุปในกระดาษของกลุ่มตัวเอง                      
  - นำเสนองาน

กลุ่มข้าพเจ้าได้หัวข้อ "เรื่อง ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์"

     1. ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
      " วิทยาศาสตร์ช่วยคนพัฒนาความคิด อย่างมีเหตุมีผล คิดอย่างเป็นระบบ และได้เรียนรู้ถึงเทคโนโลยีที่ช่วยใหมนุษย์แก้ไขปัญหาในการใช้เหตุผล"

    2. ความหมายของวิทยาศาสตร์
      "ความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติโดยทั่วไปอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปปรับปรุงในความเป็นอยู่ของมนุษย์"

    3. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
  - มีความเจริญงอกงามของความคิด ความสามารถ
  - การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุล

       กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
       ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
          1. กระบวนการดูดซึม
          2. กระบวนการปรับโครงสร้าง

     4. อุปสรรคการเรียนรู้
           มีปัญญาภายนอก=(ความรู้ความสามารถ)
           มีปัญญาภายใน = (คุณลักษณะ)
  -  การปรับตัวเขาสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์ และ สิ่งแวดล้อม
  -  การรียนรู้เกิดจากเส้นใยของสมองจึงทำให้เด็ก มีการคิดวิเคราะห์หาข้อมูลต่างๆ

     5. แนวคิทางวิทยาศาสตร์
นักทฤษฎี เกรก (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ไว้ 5 ประการดังนี้
       1.1 การเปลี่ยนแปลง
       1.2 ความแตกต่าง
       1.3 การปรับตัว
       1.4 การพึ่งพาอาศัย
       1.5 ความสมดุล

    วิธีการทางวิทยาศาสตร์
    วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ มี 5 ขั้นตอนดังนี้ คือ
 - การกำหนดปัญหา
 - การสมมติฐาน
 - การลงมือกระทำ
 - การวิเคราะห์
 - การสรุปและนำไปใช้

      6. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต
 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ
 ผลผลิต คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากการทดลอง

       เช่น : การทำนำส้มคั้น

       กระบวนการ คือ ให้เด็กทำนำส้มคั้น
       ผลผลิต คือ น้ำส้มที่คั้นเสร็จแล้ว

**จึงสรุบได้ว่า การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เราจะเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต**




วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1

            

               ครังที่ 1 


     วันที่ 12 มิถุนายน 2556

           >>การเรียนการสอนในวันนี้<<
  - อาจารย์ได้พูดถึงเกี่ยวกับการเข้าเรียน
  - เรื่องการติด I นักศึกษาคนใดที่ติด I กับอาจารย์ให้มาติดต่อด่วน
  -นักศึกษาที่มาเรียนกับอาจารย์ต้องบันทึกการเรียนการสอนทุกครั้งลงในบล็อก       
  - พูดถึงสื่อในวิชา"วิทยาศาสตร์"

  **การปฐมนิเทศ**

      >> มารยาทในการเข้ารียน<<
                    
       1. ไม่นำอาหารเข้ามาทานในห้อง
       2. แต่งกายใหเรียบร้อย
       3. กระโปรงคลุมเข่า
       4. เข็มขัดห้ามมีสี (ต้องเป็นสีดำเท่านั้น)